วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 1-7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว
ความเป็นมาในอดีตผู้ต้องการเดิรทางท่องเที่ยวจะต้องติดต่อซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยตรง ต่อมาจึงเกิดธุรกิจค้าปลีกที่อำนวยความสะดวกในการซื้อขึ้น โดย โทมัส คุก ได้เป็นแทรเวล เอเจนซี่ ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ ประเทศอังกฤษ จึงทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางไปซื้อยังผู้ประกอบธุรกิจ
บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2. ทำการจอง
3. รับชำระเงิน
4. ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5. ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6. ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7. ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ
ประโยชน์ของการใช้บริการของแทรเวล เอเจนซี่
1. มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว
2. สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3. ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4. ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5. รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า
6. รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า
ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่
1. แบบที่มีมาแต่เดิม ประเภทนี้ มักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายเต็มรูปแบบ
2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา บางครั้งอาจให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ จุดเด่น คือ สามารถขายไปยังที่ต่างๆทั่วโลก
3. แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง อาจทำธุรกิจได้ดีขึ้นหากขายไปยังกลุ่มตลาดลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะทาง
4. แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก อาจปรับเปลี่ยนบ้านหีอที่พักเป็นสำนักงาน ซึ่งเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสำนักงาน
ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัททัวร์
1. ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2. ประยัดค่าใช้จ่าย
3. ได้ความรู้
4. ได้เพื่อนใหม่
5. ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6.ไม่มีทางเลือกอื่นประเภทของทัวร์ มี 3 ประเภท
1. ทัวร์แบบอิสระ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระ ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยที่พักในโรงแรม บัตรโดยสารเครื่องบิน ทัวร์แบบอิสระจะทำให้นักท่องเที่ยวมีเสรีที่จะวางแผนกิจกรรมต่างๆได้เอง
2. ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวเเทนของบริษัททัวร์ ณ แหล่งท่องเที่ยว
3. ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง ทัวร์ประเภทนี้นักท่องเที่ยวจะเดินทางเป็นกลุ่มโดยมีมัคคุเทศก์ร่วมเดินทางไปด้วย

บทที่ 1-7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทที่ 6 ที่พักแรม
ความเป็นมาธุรกิจที่พักแรมในสากล/ต่างประเทศที่พักแรม มีมาแต่ยุคโบราณ ย้อนหลังไปถึงยุคอารยธรรมกรีกและโรมัน เกิดขึ้นสนองความต้องการที่พักของนักเดินทางที่ไม่สามารถไปกลับได้ในวันเดียวธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทยธุรกิจที่พักแรมสำหรับบริการนักเดินทางต่างชาติในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยุ่บริเวณริมฝั่นแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมาก
ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
1. ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พัก
2. ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก อาการ-เครื่องดื่ม และบริการที่เกี่ยวข้องสำหรับกิจการที่เสนอบริการในระดับมาตรฐานที่ดีขึ้นจะคำนึงถึงปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ได้แก่
2.1 ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายและสนองตอบความต้องการของผู้พักกลุ่มต่างๆ
2.2 ความเป็นส่วนตัว
2.3 บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
2.4 ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆประเภทที่พักแรม 1. โรแรม เป็นที่พักแรมที่นิยมมากของนักท่องเที่ยวทั่วไป"โรงแรม" หมายความว่า สถานที่พักที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทาง
1.1 เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม- ด้านที่ตั้ง ทำเลที่ตั้งกิจการมีผลต่อวิธีการเดินทางเข้าถึงแบะถือเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นที่เอื้อต่อความสำเร็จเชิงธุรกิจ- ด้านขนาด โดยพิจารณาจากจำนวนห้องพักโรงแรม เช่น โรงแรมที่มีห้องพักต่ำกว่า 100 ห้อง ถือเป็นโรงแรมขนาดเล็ก โรงแรมขนาด 400 ห้อง จัดเป็นดรงแรมขนาดใหญ่- ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก พิจารณาจากกลุ่มผู้พักส่วนใหญ่ของโรงแรมว่ามีจุดประสงค์ใดในการเดินทางหรือในระหว่างการพักอยู่โรงแรม- ด้านราคา พิจารณาจากอัตราราคาห้องพักโดยเปรียบเทียบระดับราคาเฉลี่ยของกิจการภายในเขตพื้นที่/ประเทศ- ด้านระดับการบริการ พิจารณาจากความครบครันในการบริการ ลักษณะบริการเสนอเเบบจำกัด ความหรุหราในการบริการตกแต่ง บริการแบบประหยัด- ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมายสัญลักษณ์ที่กลายเป็นที่รู้จักดีในสากล คือ ดาว 1 - 5 ดวง- ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร
แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือโรงแรมอิสระ เป็นโรงแรมที่เจ้าของกิจการดำเนินการเอง ตามนโยบายและวิธีการที่กำหนดขึ้นเองอย่างอิสระโรงแรมจัดการแบบกลุ่ม/เครือ หรือ เชน หมายถึง โรงแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่ม มักมีการใช้ชื่อประกอบการที่แสดงความเป็นสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน
2. ที่พักนักท่องเที่ยว
- บ้านพักเยวชน หรือ โฮสเทล เป็นที่พักราคาประหยัดพัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนเดินทางท่องเที่ยวในดินแดนต่างๆ เพื่อสร้างมิตรภาพและสันติภาพในสังคมโลกและสร้างประสบการณ์เรียนรู้จากการเดินทาง
- ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด ส่วนใหญ่เป็นบ้านแบ่งให้เช่าพักในต่างประเทศโดยเจ้าของบ้านแบ่งห้องพักที่ว่างให้แขกนอนและจัดอาหารเช้าไว้บริการในบรรยากาศค่อนข้างเป็นกันเองแบบครอบครัว
- บ้านพักริมทางหลวง เป็นที่พักขนาดเล็กตั้งอยู่ใกล้หรือริมทางหลวงสายหลักระหว่างเมืองให้บริการห้องพักและที่จอดรถหน้าห้องพักในราคาแบบประหยัด มีสิ่งอำนวยตวามสะดวกจำกัดและอาจไม่มีบริการอาหาร
- ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก เป็นทีพักบริการคล้ายโรงแรม ใช้วิธีจัดการเพื่อจัดสรรให้มีการหมุนเวียนเข้าพักในกลุ่มที่พักตากอากาศ
- เกสต์เฮ้าส์ เป็นที่พักขนาดเล็กราคาประหยัดส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากจากบ้านพักเดิมที่เจ้าของแบ่งให้นักท่องเที่ยวเช่าพัก
- อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ เป็นที่พักให้ยริการห้องชุดสำหรับผู้พักระยะยาวเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือเป็นปีเน้นบริการห้องพักในรูปแบบคล้ายคลึงกับบริการโรงแรม มีห้องครัวปรุงอาหารได้ และจำกัดบริเวณสิ่งอำนวยความสะดวก
- ที่พักกลางเเจ้ง เป็นที่พักแบบประหยัดที่สุดในประเทศตะวันตก โดยจัดพื้นที่ลานกลางเเจ้งสำหรับให้นักท่องเที่ยวทีนิยมใกล้ชิดธรรมชาติได้ตั้งค่ายพักหรือเต็นท์- โฮมสเตย์ หรือ ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท เป็นรูปแบบบริการที่พักพร้อมกิจกรรมการท่องเที่ยว ที่พักมีลักษณะเป็นบ้านพักที่นักท่องเที่ยวพักร่วมกับเจ้าของบ้านแผนกงานในโรงแรม
- แผนกงานส่วนหน้า เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างโรงแรมและแขกผู้พัก รับผิดขอบการรับจองห้องพัก การต้อนรับ ลงทะเบียน บริการข้อมูล ขนย้ายสัมภาระ และ รับชำระค่าใช้จ่าย
- แผนกงานแม่บ้าน รับผิดชอบการจัดเตรียมห้องพักแขก การทำความสะอาดเรียบร้อยในพื้นที่ต่างๆ การซักรีด การจัดดอกไม้ตกแต่งสถานที่
- แผนกอาหารและเครื่องดื่ม รับผิดชอบกระบวนการผลิตประกอบ/ปรุงอาหาร และการบริการอาหาร
- เครื่องดื่ม ในพื้นที่ต่างๆรวมถึงการจัดเลี้ยง- แผนกขายและตลาด รับผิดชอบวางแผนตลาด และควบคุมการใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้แก่ธุรกิจ
- แผนกบัญชีและการเงิน ดูแลจัดทำบัญชีและควบคุมการเงินของโรงแรม- แผนกทรัพยากรมนุษย์ ในบางกิจการขนาดเล็กจะเป็นแผนกบุคคลประเภทห้องพักSingle ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่างประเทศจะเป็นห้องพักเตียงเดี่ยวTwin ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบด้วยเตียงเดี่ยว 2 เตียง ตั้งเป็นคู่วางแยกกันDouble ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดี่ยวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ 2 คน บางครั้งให้บริการแก่ผู้พักคนเดียวเพื่อความสะดวกสบายยิ่งขึ้นSuit ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ 2 ห้องขึ้นไป โดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งห้องนอนและห้องนั่งเล่น

บทที่ 1-7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทที่ 5 การคมนาคมขนส่ง
ความหมายการคมนาคมขนส่ง หมายถึง "กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้ และ ราคาที่ได้ตกลงกันไว้"
ความเป็นมาความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีด้านการขนส่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ทำให้เกิดแรงจูงใจที่สำคัญต่อการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆที่ห่างไกลออกไป เนื่องจากความรวดเร็ว สะดวกสบายที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการใช้บริการยานพาหนะต่างๆที่ได้มีการพัฒนาจนเจริญทันสมัยขึ้นตามลำดับพัฒนาการขนส่งทางบกประวัติการขนส่งทางบห เริ่มขึ้นในสมัย 200 ปี ก่อนคริสตกาล หรือ ยุคบาบิลอน ซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปแบนถนน ก่อนที่จะนำสัตว์ มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียิปต์และกรีก จนกระทั่งในยุคโรมันจึงได้มีการพัฒนาการขนส่งจากรถลากสองล้อมาเป็นรถสี่ล้อที่ใช้ม้าลากพัฒนาการขนส่งทางน้ำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้ทราบว่า การขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีการพัฒนาแพขึ้นมาจากท่อนไม้ และ ต่อมานำต้นไม้ทั้งต้นมาขุด เจาะเป็นลำเรือการขนส่งผู้โดยสารทางเรือเริ่มขึ้นเป็นครั้งเเรกเมื่อปี ค.ศ. 1772
ในประเทศอังกฤษระหว่างเมือง Manchester กับ Longdon Bridgeพัฒนาการขนส่งทางอากาศหลังจากปี ค.ศ. 1903 ซึ่งเป็นปีที่สองพี่น้องตระกูล Wright ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นครั้งเเรกเมื่อประสบความสำเร็จจึงทำให้หลายๆประเทศในยุโรปเห็นความสำคัญของการบินขึ้น
ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1. ธุรกิจการขนส่งทางบก การคมนาคมขนส่งทางบกจัดว่าเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการเดินทางโดยรถยนต์การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ ในประเทศไทยนั้นการเดินทางท่องเที่ยวทางรถไฟไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากมีการเปรียบเทียบกับทางรถยนต์แล้วมีราคาค่อนข้างแพง ใช้เวลานาน ไม่ค่อยสะดวกการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล การเดินทางท่องเที่ยวทางรถยนต์ได้รับความนิยมมากจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า การเดินทางท่องเที่ยวทางถนนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับรถยนต์ส่วนบุคคลแล้วยังครอบคลุมถึงการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า และรถตู้เพื่อนันทนาการธุรกิจการเช่ารถ เกิดขึ้นเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ชอบเดินทางโดยรถยนต์ และ นักธุรกิจที่เดินทางไปเจรจาธุรกิจรถโดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว รถโดยสารมีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งเเต่สมัยรถม้าโดยสาร และปรับปรุงจนเป็นรถโดยสารที่ใช้เครื่องยนต์หลังจากได้มีการประดิษฐ์เครื่องยนต์ขึ้นใช้
2. ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ เรือถูกใช้เป็นพาหนะการเดินทางสำรวจดินแดนเพื่อการค้าขายมานานกว่าพันปี นอกจากนี้เรือยังถูกใช้เป็นพาหนะคมนาคมขนส่งระหว่างเมืองท่าต่างๆ
3. ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ การเติบโตของธุรกิจการบินพาณิชย์เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 ธุรกิจการบินขนาดใหญ่ได้ขยายตลาดการเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศกว้างขึ้น ทำให้ยุคของการเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศขนาดใหญ่ได้เริ่มขึ้น

บทที่ 1-7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีส่วนช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้คนเดินทางเข้ามาในประเทศประเภทของแหล่งท่องเที่ยวอาจจัดแบ่งแหล่งท่องเที่ยวได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆ ได้แก่

1. ขอบเขตอาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภทตามขอบเขตได้แก่ จุดมุ่งหมายหลัก คือ สถานที่น่าดึงดูดใจสำหรับนักท่องเที่ยวที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมุ่งตรงไปยังสถานที่นั้น
2. ความเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวทั้งทีเป็นสถานที่ทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น อาจจัดแบ่งได้ตามความเป็นเจ้าของ ซึ่งจะทำให้ทราบว่าแหล่งเงินสนับสนุนมาจากที่ไหน
3. ความคงทนถาวรคือ การแบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว ประเภทที่เป็น สถานที่ อาจมีความคงทนถาวรกว่าประเภทที่เป็นงานเทศกาลหรือกิจกรรมต่างๆ
4. ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือ จุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกันไปแหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับความนิยมอาจจะมีลักษณะที่เป็น แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ชุมชน
5. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติหมายถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามะรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพ และ กายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติบางส่วน
6. แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นคือ สถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดก็กลายเป็นทรัพยากรที่มีค่าทางการท่องเที่ยว ได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
7. แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่นเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คนแต่โดยความหมาย "วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วม กันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ และทรัพยากร ต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรม คือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อนๆ
8. แหล่งท่องเที่ยวในเเต่ละภูมิภาคของประเทศไทยภาคกลาง ประกอบด้วย 21 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ กรุงเทพมหานคร ไม่นับว่าเป็นจังหวัด เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษ เนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย พื้นที่แถบนี้จึงอุดมสมบูรณ์ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัดภาคเหนือเป็นทิวเขาทอดยาวจากเหนือลงมาใต้ และ ยังเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของประเทศไทยทำให้พบโบราณสถานต่างๆเป็นจำนวนมากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศ ทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลางอย่างชัดเจน ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเทือกเขา จันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจนจดกับเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งทอดยาวจากเหนือถึงใต้ เป็นเส้นแบ่งอาณาเขตระหว่างไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตยภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัดพื้นที่ภาคใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้องทะเลอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และ ทะเลอันดามันทางฝั่นตะวันตก

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 1-7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว
แรงจูงใจ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างจากการจูงใจในวิชาจิตวิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยาวัฒนธรรมและพลังทางชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางการท่องเที่ยว
ทฤษฏีต่างๆเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้นเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกระดับหนึ่งก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่ Maslow ได้เสนอลำดับขั้นขั้นตอนความต้องการของมนุษย์ทั้งหลาย 5 ขั้น
2. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce โดยประยุกต์จากทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็นของ Maslow
3. แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น Crompton ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวที่เป็นคนชั้นกลาง จำนวน 30 คน
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นของ Crompton มี 7 ประเภทดังต่อไปนี้
1. การหลีกเลี่ยงหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ
2. การสำรวจและการประเมินตนเอง
3. การพักผ่อน
4. ความต้องการเกียรติภูมิ
5. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพเดิม
6. กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7. การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
4. แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ SWARBROOKE
1. แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ
2. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ
5. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6. แรงจูงใจส่วนบุคคล
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3. แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4. แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6. แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
โครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ได้แก่
1. ระบบไฟฟ้า จะต้องใช้อย่างเพียงพอ ทั่วถึง และใช้การได้ดี
2. ระบบประปา ควรมีความสะอาด ถูหลักอนามัย มีปริมาณเพียงพอ
3. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ต้องมีความสะดวก รวดเร็ว มีปริมาณหน่วยบริการที่เพียงพอและกระจายทั่วถึง
4. ระบบขนส่ง ประกอบไปด้วย
4.1 ระบบการเดินทางทางอวกาศ 4.2 ระบบการเดินทางทางบก 4.3 ระบบเดินทางทางน้ำ
5. ระบบสาธารณสุข
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม

บทที่ 1-7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้น ถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์ของเหล่าการท่องเที่ยวเป็นสิ่งที่จำเป็นและประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวเนื่องจากมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์มากมายที่จะต้องจดจำและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับการท่องเที่ยวในปัจจุบัน
ชาวโรมันก็มีการเดินทางกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาลเนื่องจากความกว้างใหญ่ไพศาลของอาณาจักรโรมัน ชาวโรมันในกรุงโรมนิยมเดินทางไปพักร้อนยังบ้านพักร้อนบนภูเขา ชาวโรมันพากันมาเที่ยวที่อ่าวเมืองเนเปิล มีการสร้างบ้านพักและวิลล่าที่สวยงาม จากการขุดค้นพบทางโบราณคดีทำให้ทราบว่าชาวโรมันและชาวปอมเปอีมีความเจริญมั่งคั่งอย่างมากจึงสามารถสร้างบ้านเรือนขึ้นอย่างสวยงามและมีร่องรอยของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทางสมัยนั้นคือ ความมั่นคงทางการเมืองและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้นๆ
ข้อเขียนนักประวัติศาสตร์และนักเดินทางที่มีความสำคัญที่มีชื่อว่า Herodotus ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 484 ปี ถึง 424 ปีก่อนคริสตกาลอาจเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวคนแรกของโลกก็ว่าได้ จากบันทึกของ Herodotus ทำให้เราทราบว่ามัคคุเทศก์ในสมัยนั้นมีความรู้เกี่ยวกับสถานที่และเรื่องราวต่างๆ ข้อมูลและมัคคุเทศก์ในสมัยก่อนคริสตกาลอาจแบ่งออกได้เป็น 2 พวกด้วยกัน พวกแรก คือ พวกที่เรียกว่า Periegetai มีหน้าที่คอยต้อนฝูงนักท่องเที่ยวให้เข้ากลุ่มส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า Exegetai เป็นพวกที่ให้ข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับเงินค่าตอนแทน
การท่องเที่ยวในยุคกลาง
ยุคกลางคือช่วงที่อยู่ระหว่าง คศ.500-1500 หรือเป็นช่วงที่ต่อจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน แต่ก่อนจะเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคกลางเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “ยุคมืด” ช่วงเวลาดังกล่าวถนนหนทางถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเศรษฐกิจตกต่ำศาสนาจักรโรมันคาทอลิก ยังคงเป็นศูนย์รวมของสังคมและอำนาจการเดินทางมีความลำบากมากขึ้นและอันตรายมากขึ้น ทำให้ผู้คนเดินทางกันในระยะทางสั้น ๆ ไม่ไกลจากบ้านมากนัก
ปัญหาที่นักเดินทางในยุคกลางต้องเผชิญคือ โจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นนักเดินทางมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง และเป็นทั้งผู้ปกป้องนักเดินทางด้วยมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงได้รับค่าจ้างสูง ค่าจ้างมัคคุเทศก์ในสมัยนั้น เท่ากันครึ่งหนึ่งของราคาอูฐหนึ่งตัว
ผลของการเดินทางเพื่อจารึกแสวงบุญมี ประเด็นที่สำคัญ 3 ประเด็นคือ
1. มีเป้าหมายของการเดินทางที่เด่นชัดได้แก่ การแสวงบุญ
2. ผลการเดินทางมีความสำคัญและความหมายทางด้านจิตใจเพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งชีวิต
3. ผู้แสวงบุญต้องการให้คนอื่นเห็นถึงความสำเร็จแห่งการเดินทางในรูปของที่ระลึก
การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 19
ในช่วงก่อนที่จะถึงศตวรรษที่ 16 คนที่ต้องการเดินทางมีวิธีที่จะทำให้ 3 วิธี คือ ด้วยการเดินเท้าซึ่งเป็นวิธีเดินทางของคนจน วิธีที่สองคือการขี่ม้า และวิธีสุดท้ายคือ ใช้เสลี่ยงโดยมีคนรับใช้เป็นผู้แบกซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีเดินทางของชนชั้นสูงเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้เกวียนเทียมด้วยม้า
การเดินทางก็มักจะไม่ปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นนักเดินทางตามทาง ดังนั้นที่เดินทางในสมัยนั้นจึงเป็นพวกชนชั้นปกครองหรือคนในราชสำนักซึ่งมักจะมีผู้คุ้มกันอย่างแน่นหนา และพวกคนร่ำรวยที่มีบ้านหลังที่สองในชนบทเท่านั้นที่จะเดินทางเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินจนล่วงถึงศตวรรษ ที่ 18
เรือกลไฟ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ก็ทำให้เกิด การพัฒนาเรือกลไฟเพื่อการเดินทางทางน้ำ ถึงแม้ว่าบริการเรือข้ามฝากจะเริ่มมีบริการตั้งแต่ปี 1761 ปี ระหว่างเมือง Brighton ในอังกฤษกับเมือง Dieppe ในฝรั่งเศส แต่เรือกลไฟเพื่อการค้าข้ามช่องแคบที่วิ่งอยู่ประจำเพิ่งจะเริ่มต้น ในปี 1821 โดยเปิดวิ่งระหว่างเมือง Dover ของอังกฤษและ Calais ของฝรั่งเศส บริษัท ที่ดำเนินกิจการรถไฟเพิ่งจะตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงจึงซื้อกรรมสิทธิ์เพื่อดำเนินกิจการเรือข้ามฝากเอง ทำให้บริการเรือกลไฟข้ามช่องแคบขยายตัวกว้างขวางขึ้น
การท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 20 ( 1901-200 ) ช่วง 50 ปีแรก ( 1901-1950 )
การกำเนิดอุตสาหกรรมการบินในระยะแรกเป็นสัญญาณบ่งบอกให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของบริการทางรถไฟและเรือกลไฟ ที่กล่าวว่าเป็นจุดเริ่มของการสิ้นสุดเพราะรถไฟและเรือยังคงมีการให้บริการอยู่ เนื่องจากการบริการทางเครื่องบินในตอนแรกยังคงมีราคาแพง
การบินในระยะแรกมักจะเป็นการส่งจดหมายและไปรษณียภัณฑ์มากกว่า การขนส่งผู้โดยสารจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เครื่องบินได้รับการพัฒนามากและดีพอที่จะทำการขนส่งผู้โดยสารเป็นการพาณิชย์ และเป็นการบินระหว่างประเทศ
การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
การยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องรูปแบบของการเดินทางครั้งสำคัญนั่นคือ การเดินทางระยะไกลด้วยเครื่องบินซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี การบินเที่ยวแรก เป็นการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค ระหว่างนิวยอร์คในประเทศสหรัฐ กับเมืองปอร์ธสมัธของประเทศอังกฤษ
การเดินทางทางอากาศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การขยายคัวนี้เนื่องมาจากมีเครื่องบินที่เหลือจากสงครามและทัศนคติที่ยอมรับผู้ประกอบการเอกชนมาทำธุรกิจการบิน และการที่ผู้ประกอบการบางคนปรากฏตัวด้วยการเดินทางเครื่องบิน วนปี ค.ศ. 1958 ได้มีการแนะนำเครื่องบินไอพ่นโบอิ้ง 707 นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางทางอากาศแบบมหาชนเป็นครั้งแรก

บทที่ 1-7 อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
อุตสาหกรรม หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆมาผลิตบริการยอ่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือนสินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเหมือน หรือ ต่างจากสินค้าของอุตสาหกรรมอื่นๆ

1. เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้
2. เป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค
3. เป็นสินค้าที่ไม่สูญสลาย
4. เป็นสินค้าที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ก็ได้

สามารถจำแนกองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ออกเป็น

1. องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
2. องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)